แก้มลิงตะวันออกเจ้าพระยา


โครงการแก้มลิงในพื้นที่ฝั่งตะวันออก

ของแม่น้ำเจ้าพระยา

จะรับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่จังหวัดสระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร มาตามคลองสายต่าง ๆ โดยใช้คลองชายทะเลที่ตั้งอยู่ริมทะเลด้านจังหวัดสมุทรปราการ ทำหน้าที่เป็นบ่อพักน้ำหรือรับน้ำ และพิจารณาหนองบึงหรือพื้นที่ว่างเปล่าตามความเหมาะสมเป็นบ่อพักน้ำเพิ่ม เติม โดยใช้คลองธรรมชาติในแนวเหนือใต้ เช่น คลองพระองค์ไชยานุชิต คลองบางปลา คลองด่าน คลองบางปิ้ง คลองตำหรุ คลองชายทะเล เป็นแหล่งระบายน้ำเข้าและออกบ่อพักน้ำ


แก้มลิงตะวันตกเจ้าพระยา


โครงการแก้มลิงในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา

ทำหน้าที่รับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่จังหวัดอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นครปฐม กรุงเทพมหานคร และสมุทรสาคร ไปลงคลองมหาชัย-สนามชัย และแม่น้ำท่าจีน เพื่อระบายน้ำออกสู่ทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาคร


แก้มลิงท่าจีนตอนล่าง


โครงการแก้มลิง '' ท่าจีนตอนล่าง ''


ลักษณะงานก่อสร้างแก้มลิง “ แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง “ ประกอบด้วย

การก่อสร้าง ประตูระบายน้ำพร้อมด้วยสถานีสูบน้ำขนาดใหญ่ ปิดกั้นแม่น้ำท่าจีนที่เหนือบริเวณที่ตั้งจังหวัดสมุทรสาครขึ้นไปตามความเหมาะสม ซึ่งในฤดูน้ำหลากประตูระบายน้ำนี้จะทำหน้าที่บังคับ ควบคุมน้ำในแม่น้ำท่าจีน โดยเปิดระบายน้ำจำนวนมากให้ไหลลงสู่อ่าวไทย ด้วยแรงโน้มถ่วงของโลกเมื่อน้ำทะเลมีระดับต่ำ ส่วนช่วงเวลาที่น้ำทะเลมีระดับสูง ประตูระบายน้ำนี้จะทำหน้าที่บังคับน้ำภายนอกที่มีระดับสูงไม่ให้ไหลรุกล้ำเข้าไปเหมือนแต่ก่อนและพร้อมกันนั้นเมื่อน้ำจำนวนมากยังคงไหลมาตลอดเวลา ให้สูบน้ำลงแม่น้ำหรือผันออกไปตามทางน้ำด้านฝั่งซ้ายหรือฝั่งขวาออกสู่อ่าวไทยตามความเหมาะสม


การปฏิบัติเช่นนี้ จะทำให้แม่น้ำท่าจีนด้านเหนือประตูระบายน้ำระยะทางหลายสิบกิโลเมตรมีระดับต่ำกว่าตลิ่งตลอดเวลา ซึ่งจะทำหน้าที่เป็น
“ แก้มลิง “ สามารถรองรับน้ำท่วมพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำท่าจีนตอนล่างที่จะระบายลงมา แล้วระบายออกสู่อ่าวไทยต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ


กรมชลประทานได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการประตูระบายน้ำแม่น้ำท่าจีนตอนล่าง ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2538 ระยะเวลาศึกษา 18 เดือน ( จะแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2540 ) ผลการศึกษาปัจจุบันถึงระดับความเหมาะสมเบื้องต้น สามารถกำหนดที่ตั้ง และลักษณะโครงการที่เหมาะสม เพื่อออกแบบรายละเอียดต่อไป คาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ในปีงบประมาณ 2541 เป็นต้นไป


แก้มลิงคลองสุนัขหอน


โครงการแก้มลิง '' คลองสุนัขหอน ''

ประกอบด้วยประตูปิดกั้นคลองสุนัขหอนพร้อมอาคารประกอบ สถานีสูบน้ำออกจากคลองสุนัขหอน

โครงการแก้มลิง นับเป็นนิมิตหมายอันดีและ เป็นสิ่งที่ช่วยให้ขาวไทยทั้งหลายได้รอดพ้นจากทุกข์ภัยที่นำความเดือดร้อนแสนลำเค็ญมาสู่ชีวิตที่อบอุ่นปลอดภัย ทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมนี้ว่า


"….ได้ดำเนินการในแนวทางที่ถูกต้องแล้ว ขอให้รีบเร่งหาวิธีปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพต่อไป เพราะโครงการแก้มลิงในอนาคต จะสามารถช่วยพื้นที่ได้หลายพื้นที่…."


นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงมีพระราชดำริเพื่อการแก้ไขและการกำจัดน้ำเสียในกรุงเทพมหานคร ในเมืองหลัก และในต่างจังหวัดด้วยวิธีการต่าง ๆ อีก เช่น

  • การใช้ผักตบชวาช่วยกรองความสกปรกในน้ำเสีย
  • การใช้น้ำดีขับไล่น้ำเสีย
  • การใช้กังหันน้ำชัยพัฒนา เพื่อบำบัดน้ำเสีย
  • การกำจัดขยะอย่างถูกต้องและไม่เป็นการทำลายสภาพแวดล้อมทั้งในแหล่งน้ำใต้ดินและสภาพทางอากาศ

.

แก้มลิงคลองมหาชัย


ความเป็นมาของโครงการ

เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริโครงการแก้มลิงซึ่งเป็นโครงการระบายน้ำเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง เนื่องจากในช่วงฤดูฝนน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีปริมาณมาก ประกอบกับมีฝนตกในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลติดต่อกันหลายวัน พร้อมทั้งน้ำทะเลหนุนสูง จึงทำให้เกิดน้ำล้นตลิ่งไหลเข้าสู่พื้นที่ฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งโดยปกติแม่น้ำเจ้าพระยาสามารถรับน้ำได้ประมาณ 3,000 ลบ.ม./วินาที โดยไม่ล้นตลิ่ง แต่เมื่อปี พ.ศ.2538 ในช่วงฤดูน้ำหลากมีปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาถึง 5,500 ลบ.ม./วินาที น้ำจึงล้นตลิ่ง และท่วมพื้นที่ทั้งสองฝั่งแม่น้ำเป็นอาณาบริเวณกว้างขวาง


ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2539 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริให้พิจารณาโครงการแก้มลิง ที่สมควรดำเนินการให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ และพื้นที่ในเขตจังหวัดสมุทรสาคร และกรุงเทพมหานคร โดย "แก้มลิง" นี้ให้ทำหน้าที่รวบรวมน้ำ รับน้ำ และดึงน้ำท่วมขังพื้นที่ทางตอนบนมาเก็บไว้ พร้อมกับระบายน้ำออกสู่อ่าวไทยตามจังหวะการขึ้น - ลงของระดับน้ำทะเล โดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก และการสูบน้ำที่เหมาะสมสอดคล้องกับโครงการแก้มลิง ตามแนวพระราชดำริที่พระราชทานไว้เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2538 โดยอาศัยคลองสรรพสามิต คลองสหกรณ์ และพื้นที่บริเวณใกล้คลองดังกล่าวนั้น


จากการศึกษาข้อมูลพบว่าสภาพพื้นที่โดยทั่วไปไม่เอื้ออำนวยในการทำโครงการ อีกทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง จึงควรพิจารณาศึกษาโครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย - คลองสนามชัย" และคลองต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงแทน เนื่องจากคลองมหาชัย - คลองสนามชัยนี้ เป็นแหล่งรับน้ำใกล้บริเวณน้ำท่วมขังในเขตจังหวัดสมุทรสาคร นครปฐม และกรุงเทพฯ ที่ระบายน้ำลงมา ลักษณะโครงการที่สำคัญจะประกอบด้วย การก่อสร้างประตูระบายน้ำปิดกั้นคลองต่าง ๆ พร้อมด้วยสถานีสูบน้ำตามความจำเป็น ซึ่งคาดว่าจะเสียค่าใช้จ่ายในการลงทุนไม่มากนัก และจะได้ประโยชน์คุ้มค่า รวมทั้งยังสามารถสร้างระบบให้เชื่อมกับโครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง" รวมเป็นระบบในการช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในหลายจังหวัด รวมทั้งกรุงเทพมหานครได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงพระราชดำริให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งศึกษา และพิจารณาดำเนินการโครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย - คลองสนามชัย" โดยเร่งด่วนต่อไป


วัตถุประสงค์ของโครงการ

โครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย - คลองสนามชัย" เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีวัตถุประสงค์ในการช่วยระบายน้ำท่วมขังจากพื้นที่ตอนบน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ( ฝั่งธนบุรี ) ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อระบายน้ำออกสู่ทะเลโดยเร็วที่สุด โดยการก่อสร้างประตูระบายน้ำ (ปตร.) ปิดกั้นคลองสายต่าง ๆ พร้อมสถานีสูงน้ำตามความจำเป็น โดย "แก้มลิง" จะทำหน้าที่รวบรวม รับ และดึงน้ำท่วมขังจากพื้นที่ตอนบนลงมาเก็บไว้ในคลองมหาชัย - คลองสนามชัย และคลองต่าง ๆ ในพื้นที่ แล้วสูบทิ้งลงทะเลผ่านทางปากคลองมหาชัย คลองพระราม และคลองขุนราชพินิจใจ ในช่วงที่ระดับน้ำทะเลหนุนสูง รวมทั้งการเปิดระบายออกสู่อ่าวไทยตามจังหวะการขึ้น - ลง ของน้ำทะเล โดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก เช่นเดียวกับโครงการทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งดำเนินการได้ผลมาแล้วเมื่อคราวน้ำท่วมใหญ่ ปี พ.ศ. 2538


ขอบเขตของโครงการ

ขอบเขตของพื้นที่โครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย - คลองสนามชัย" สรุปได้ดังนี้
  • ทิศเหนือ ติดเขต อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ โดยอาศัยคลองมหาสวัสดิ์เป็นแนวรับน้ำ
  • ทิศตะวันออก ติดต่อแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ใต้สะพานพระราม 7 ลงไปจดเขตราษฎร์บูรณะ เขตพระประแดงกิ่ง อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ โดยมีคลองขุนราชพินิจใจเป็นแนวแบ่งเขต
  • ทิศใต้ จดชายทะเลในเขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ และเขต อ.เมือง จ.สมุทรสาคร


เป้าหมายโครงการ

1. เร่งระบายน้ำลงสู่พื้นที่แก้มลิงโดยเร็วที่สุด โดยแบ่งปริมาณน้ำให้ระบายไปตามคลองระบายน้ำ และแหล่งเก็บชะลอน้ำตามประสิทธิภาพที่มีอยู่เดิม และสมดุลกับปริมาณน้ำหลาก

2. ปรับปรุงคลองระบายน้ำให้สามารถระบายน้ำได้ตามที่ได้ศึกษากำหนดแนวทางไว้

3. ก่อสร้างอาคารบังคับน้ำต่าง ๆ ตามที่กำหนดและวางแผนไว้

4. ดำเนินการโครงการ โดยประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสามารถดำเนินการก่อสร้างระบบระบายน้ำได้อย่างถูกต้อง และสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. ช่วย ระบายน้ำท่วมขังนที่ลุ่มทิ้งลงทะเล
2. ช่วย ลดระยะเวลาน้ำท่วมขัง ให้สิ้นลง
3. ลดปัญหาความตึงเครียดทางด้านจิตใจของราษฎร ในพื้นที่น้ำท่วม
4. ลดความสูญเสีย ทางด้านเศรษฐกิจในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วม
5. ลดค่าใช้จ่าย ในการบูรณะซ่อมแซมสาธารณูปโภคต่าง ๆ
6. การชัดน้ำจืดจากแม่น้ำท่าจีนเพื่อนำมาช่วย ไล่น้ำเสีย
7. ช่วยให้มีการชัดน้ำจืดจากแม่น้ำท่าจีนเพื่อนำมาช่วย ไล่น้ำเสีย

เมื่อดำเนินการก่อสร้างเขื่อนระบายน้ำในแม่น้ำท่าจีนตอนล่างในเขตจังหวัดสมุทรสาครเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะ ทำให้มีแหล่งน้ำจืดในฤดูแล้งเพียงพอสำหรับนำมาใช้ไล่น้ำเสียได้ ปัจจุบันน้ำในคลองภาษีเจริญและคลองมหาชัย รวมทั้งทางน้ำที่ต่อเนื่องในเขต กทม. ส่วนใหญ่จะมีน้ำเสียเป็นปริมาณมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูแล้งสถานีสูบน้ำต่าง ๆ ที่มีอยู่ในโครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย - คลองสนามชัย" สามารถช่วยสูบน้ำเสียออกทิ้งลงทะเลในช่วงเวลาที่เหมาะสม แล้วผันน้ำจืดจากแม่น้ำท่าจีนเข้าไปล้างคลองต่าง ๆ เหล่านั้น อย่างไรก็ดีเรื่องนี้จะต้องพิจารณาดำเนินการโดยรอบคอบ เพราะจะ ต้องคำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับบ่อกุ้ง บ่อปลา ในเขตตำบลโคกขาม ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ด้วย


ประสิทธิภาพแก้มลิง


หลัก 3 ประการที่จะทำให้โครงการแก้มลิงมีประสิทธิภาพ

บรรลุผลสำเร็จตามแนวพระราชดำริ คือ การพิจารณา


  1. สถานที่ ที่จะทำหน้าที่เป็นบ่อพักและวิธีการชักนำน้ำท่วมไหลเข้าสู่บ่อพักน้ำ
  2. เส้นทางน้ำไหลที่สะดวก ต่อการระบายน้ำเข้าสู่แหล่งที่ทำหน้าที่บ่อพักน้ำ
  3. การระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำต้อง เป็นไปอย่างต่อเนื่อง



" โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา " ใช้คลองชายทะเลตั้งอยู่ริมทะเลด้านจังหวัดสมุทรปราการทำหน้าที่เป็นบ่อพักน้ำหรือบ่อรับน้ำส่วน" โครงการแก้มลิง ในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา " ทำหน้าที่รับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อระบายออกทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาครพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริ เพื่อให้การระบายน้ำท่วมออกทะเลเร็วขึ้นด้วยวิธีการต่างๆอาทิ โครงการแก้มลิง " แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง " ซึ่งใช้หลักการ ในการควบคุมน้ำในแม่น้ำท่าจีน คือ เปิดระบายน้ำจำนวนมากลงสู่อ่าวไทยเมื่อระดับน้ำทะเลต่ำ



แก้มลิงที่สมบูรณ์


โครงการแก้มลิงที่มีประสิทธิภาพสมบูรณ์
ต้องดำเนินการครบระบบ ๓ โครงการด้วยกัน คือ


1. โครงการแก้มลิง " แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง ''
2. โครงการแก้มลิง " คลองมหาชัย-คลองสนามชัย "
3. โครงการแก้มลิง " คลองสุนัขหอน "


โครงการแก้มลิงนับเป็นนิมิตหมายที่จะนำพาชาวไทยให้รอดพ้นจากทุกข์ภัย ที่นำความเดือนร้อนแสนลำเค็ญมาสู่ชีวิตที่อบอุ่นปลอดภัย

ซึ่งแนวพระราชดำริอันเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมนี้ มีพระราชดำริเพิ่มเติมว่า


"...ได้ดำเนินการในแนวทางที่ถูกต้องแล้วขอให้รีบเร่งหาวิธีปรับปรุง
และเพิ่มประสิทธิภาพต่อไปเพราะโครงการแก้มลิง
ในอนาคตจะสามารถช่วยพื้นที่ได้หลายพื้นที่..."



แนวพระราชดำริแก้มลิง


การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ
และปริมณฑลตามแนวพระราชดำริ " แก้มลิง "


มีลักษณะและวิธีการดังนี้

  1. ดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบน ให้ไหลลงคลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเล
  2. เมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำกว่าระดับน้ำในคลอง ก็ทำการระบายน้ำจากคลองดังกล่าว โดยใช้หลักทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก ( Gravity Flow ) ตามธรรมชาติ
  3. สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่ " แก้มลิง " นี้ เพื่อทำให้น้ำตอนบนค่อยๆไหลมาเองตลอดเวลา ส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง
  4. เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลอง ให้ทำการปิดประตูระบายน้ำ โดยยึดหลักน้ำไหลลงทางเดียว ( One Way Flow )


แก้ไขน้ำท่วมในกรุงเทพ


แนวทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิลอดุลยเดช
ได้พระราชทานพระราชดำริ
แก้ไขปัญหาน้ำท่วม
ในกรุงเทพมหานคร





  • ประการแรก สร้างคันกั้นน้ำโดยปรับปรุงแนวถนนเดิม
  • ประการที่ ๒ จัดให้มี พื้นที่สีเขียว ( Green Belt ) ตามพระราชดำริเพื่อกันการขยายตัวของเมืองและเพื่อแปรสภาพให้เป็นทางระบายน้ำ เมื่อมีน้ำหลาก
  • ประการที่ ๓ ดำเนินการขุดลอกคลอง ขยายคลองที่มีอยู่เดิมและขุดใหม่นอกแนวคันกั้นน้ำ
  • ประการที่ ๔ สร้างสถานที่เก็บน้ำตามจุดต่าง ๆ
  • ประการที่ ๕ ขยายช่องทางรับน้ำที่ผ่านทางรถไฟและทางหลวง กรมทางหลวง

ได้ดำเนินการตาม "โครงการพระราชดำริแก้มลิง" โดยใช้แนวถนนสุขุมวิทเป็นคันกั้นน้ำทะเลที่หนุนท่วมขึ้นมาบนชายฝั่งทะเล และใช้พื้นที่ด้านในของถนนสุขุมวิทเป็นพื้นที่พักน้ำที่ไหลมาจากตอนบนร้อมทั้งประสานงานกับกรมชลประทาน และกรมโยธาธิการดำเนินการก่อสร้างสถานีสูบน้ำตามคลองต่างๆเลียบถนนสุขุมวิทตามแนวคลองชายทะเล โดยมีประสิทธิภาพในการสูบน้ำตามคลองต่างๆ คือ คลองตำหรุ คลองบางปลาร้า คลองบางปลา คลองเจริญราษฎร์ คลองด่าน คลองชลหารพิจิตร รวมปริมาณน้ำที่สามารถสูบออกทะเล 267 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้น้ำตามคลองต่าง ๆ ของพื้นที่ด้านบนสามารถไหลลงสู่ด้านล่างได้สะดวกรวดเร็วขึ้น

เหตุผลของแก้มลิง


"... ตามปกติ เวลาเราให้กล้วยกับลิง ลิงจะเคี้ยวแล้วเก็บไว้ในแก้มลิง ...

เขาเคี้ยวแล้วเอาไปเก็บในแก้ม

น้ำท่วมลงมา ถ้าไม่ทำโครงการแก้มลิง

น้ำท่วมนี้จะเปรอะไปหมด อย่างที่เปรอะปีนี้

เปรอะไปทั่วภาคกลาง จะต้องทำ "แก้มลิง" เพื่อที่จะเอาน้ำปีนี้ไปเก็บไว้ ..."

พระราชดำรัส ๔ ธันวาคม ๒๔๓๘



"โครงการแก้มลิง" เป็น ส่วนหนึ่งของโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลตามแนว พระราชดำริ โดยประกอบด้วย


  • โครงการขุดลอกคลองระบายน้ำ และกำจัดวัชพืช
  • โครงการปรับปรุง และก่อสร้างสถานีสูบน้ำ และประตูระบายน้ำ

ตามที่ได้ เกิดสภาวะน้ำท่วมหนักในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๘ อันสืบเนื่องมาจากฝนตกหนักในลุ่มน้ำตอนบน ทำให้ปริมาณน้ำจำนวนมากไหลหลากท่วมพื้นที่อย่างรุนแรงในลุ่มแม่น้ำยมและน่าน เสริมกับปริมาณน้ำล้นอ่างเก็บน้ำ เขื่อนสิริกิติ์ไปหลากท่วมพื้นที่ทางด้านท้ายน้ำอย่างหนัก และส่งผล กระทบต่สภาวะน้ำท่วมในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างซึ่งรวมถึงเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เป็นเวลานานกว่า ๒ เดือน


คืนวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่ดูแลปัญหาน้ำท่วมเข้าเฝ้าฯเพื่อรับพระราชทานแนวพระราชดำริการป้องกันน้ำท่วม ในพื้นที่บริเวณกรุงเทพฯ และปริมณฑล
โดยทรงเปรียบเทียบ


การกินอาหารของลิงหลังจากที่ลิง
เคี้ยวกล้วยแล้วจะยังไม่กลืน
แต่จะเก็บไว้ภายในแก้มทั้งสองข้างแล้วค่อยๆ
ดุนกล้วยมากินในภายหลัง


ช่นเดียวกับกรณีการผันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งน้ำที่ขึ้นมาตามซอยต่าง ๆ เมื่อน้ำทะเลหนุนให้ไปเก็บไว้ที่บึงใหญ่ที่อยู่ใกล้กับพื้นที่ชายทะเล และมีประตูน้ำขนาดใหญ่สำหรับปิดกั้นน้ำบริเวณแก้มลิงสำหรับฝั่งตะวันตกจะอยู่ที่คลองชายทะเลด้านฝั่งตะวันออกบริเวณแก้มลิงจะอยู่ที่คลองสรรพสามิต เมื่อเวลาน้ำทะเลลดลงให้เปิดประตูระบายน้ำออกไป บึงจะสามารถรับน้ำชุดใหม่ต่อไป



'' โครงการแก้มลิง ''


โครงการแก้มลิง
....
โครงการแก้มลิง

. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรแม้ในถิ่นทุรกันดาร ทรงขับรถยนต์พระที่นั่งเอง บางแห่งต้องทรงพระดำเนินบุกป่าฝ่าเขาในภาคเหนือ ฝ่าดงทากชุกชุมในภาคใต้ เพื่อเสด็จฯไปทรงตรวจพื้นที่ที่จะพระราชทานโครงการต่างๆ ที่เหมาะสม หรือพระราชทานเขื่อนฝายแหล่งเก็บกักน้ำให้แก่ราษฎร แม้พระเสโทหยาดเต็มพระพักตร์ แม้ทากเกาะดูดพระโลหิตจากพระวรกาย ก็มิได้ทรงย่อท้อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

. พระองค์ทรงใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์เข้าช่วยแก้ปัญหาของประชาชนตลอดเวลายาวนานกว่า ๕๐ ปี โดยเฉพาะปัญหาการอาชีพ ปัญหาเรื่องน้ำ และดิน คือ การขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง และน้ำท่วมในฤดูฝน ทรงพระราชดำริเริ่มโครงการด้านชลประทานเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำ โดยทรงยึดหลักการที่ว่า “ ต้องมีน้ำ น้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ” ทรงตระหนักดีว่า “ น้ำ ” คือชีวิต น้ำมีความสำคัญต่ออาชีพเกษตรกรรมและการดำรงชีวิตของราษฎรไทย โดยเฉพาะในชนบท ทรงพระราชดำริว่า การสงเคราะห์ราษฎรที่ได้ผลควรเป็นการสงเคราะห์อย่างถาวร นั่นก็คือ การช่วยราษฎรให้สามารถพึ่งตนเองได้ จึงทรงพระกรุณาดำริ ริเริ่มโครงการต่างๆ เมื่อ “พัฒนาทรัพยากรน้ำ” ในรูปแบบต่างๆ มาโดยตลอด


*... สอนให้เขารู้จักสามารถดำรงชีพด้วยตัวเอง ...*
*... คือการสอนที่ประเสริฐที่สุดในโลก ...*